วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

การประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตร

          หมายถึง การประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร  ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด และเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการหรือไม่ โดยในการประเมินหลักสูตรจะใช้เครื่องมือชนิดต่าง ๆที่มีความเหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มเป็นต้น ทั้งนี้ผลที่ได้จากการประเมินจะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป


แนวทางการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

1. การประเมินก่อนการนำหลักสูตรไปใช้ 
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปรัชญาของหลักสูตร จุดประสงค์ เนื้อหา ประสบการณ์ และความต้องการของสังคมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรจะเป็นผู้ประเมิน

2.การประเมินระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร 
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น การจัดการเรียนการสอน วิธีการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และวิธีการวัดและประเมินผล

3. การประเมินหลังจากการใช้หลักสูตร
  •  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริหารหลักสูตรรวมถึงการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของการใช้หลักสูตร


การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้


การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้

 : SOLO Taxonomy



     เป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา  ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
   
1.  Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน)
  • ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2.  Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว)
  • การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3.  Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง)
  • การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.  Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์)
  • การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5.  Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม)
  • จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น

กิจกรรมการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)

       
ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมเป็นอันดับแรก โดยส่วนมากจะประกอบด้วย

1.   ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.   ขั้นดำเนินการสอน
3.   ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
4.   ขั้นสรุปบทเรียน
5.   ขั้นประเมินผู้เรียน               


       กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมการสอนของผู้สอนให้ผู้เรียนได้บรรลุตามจุดประสงค์ที่ได้วางไว้ เป็นการกระตุ้นตั้งแต่คำถามถามแรกในการสอนซึ่งเป็นการนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้อย่างสูงสุด ซึ่งผู้สอนจะถ่ายทอดวิชา จัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามเทคนิควิธีการของตนเอง
        เช่น วิชาพระพุทธศาสนา มีการใช้สื่อวิดีโอมาเปิดสอนแทนการอธิบายเล่าเรื่อง ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น และไม่รู้สึกเบื่อหน่าย มีการสรุปบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไป มีการประเมินผลผู้เรียนว่าที่เรียนไปเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด

ผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes)

        คือ ผลที่คาดหวัง หรือการบรรลุเป้าหมายของวัตถุประสงค์ขององค์กร จะเป็นตัวที่บอกถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องรู้ เข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ภายหลังจากที่ได้สำเร็จกระบวนการในการเรียนรู้แล้ว 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  
       เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน หลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้แต่ละปีหรือแต่ละภาค ซึ่งนิยมเขียนแสดงไว้ในคำอธิบายรายวิชา เวลาเขียนต้องให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ 
  • แสดงสมรรถนะความรู้ (K-Knowledge) 
  • แสดงความสามารถที่เป็นทักษะกระบวนการ  (P-Process) 
  • แสดงคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม (A-Attitude)




อ้างอิง http://www.gotoknow.org/posts/89388

เนื้อหาหลักสูตร

เนื้อหาหลักสูตร (Curriculum Content)



         เนื้อหา (content) เป็นสิ่งที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยดำเนินการตั้งแต่การเลือกเนื้อหาและประสบการณ์การเรียงลำดับเนื้อหาสาระและการกำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องมีการนำเนื้อหามาสอนผู้เรียนให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ได้วางไว้ และตรงตามหลักสูตรเพื่อให้เกกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด

รูปแบบของหลักสูตร
        มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีแนวคิดจุดมุ่งหมาย และโครงสร้างที่แตกต่างก็ออกไป ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย หรือเพื่อให้สนองเจตนารมณ์ของการจัดการเรียนรู้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามระดับการศึกษา มีการจัดประเภทรูปแบบของหลักสูตร ตามเกณฑ์ที่ยึดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้


1.หลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาและเนื้อหาสาระเป็นหลัก

  • กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการจัดเนื้อหาสาระวิชาที่จะเรียน
2.หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก  


  • หลักสูตรนี้ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ 
  • จัดหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
3.หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางทักษะหรือประสบการณ์เป็นหลัก
  • หลักสูตรประเภทนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหา ถ้าเป็นหลักสูตรที่ยึดกระบวนการเป็นหลักจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน



อ้างอิง   http://www.learners.in.th/blogs/posts/413865


ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้ 


          
                หมายถึงข้อความรู้ทีอธิบาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียนได้ 


             ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ครูจะต้องศึกษาก่อนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ จะทำให้ครูเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับ ผู้เรียน ในการจัดการเรียนรู้ถ้าครูศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ก่อนแล้วนำแนวคิดจากทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติคือการจัดการเรียนรู้ จะทำให้การจัดการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะดีกว่าการที่เราจัดการเรียนรู้โดยไม่มีทฤษฎีรองรับเพราะทฤษฎีต่างๆ นั้นได้มีการค้นคว้าทดลองจนเป็นที่ยอมรับ ได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลย

ทิศนา แขมมณี (2550 : 40 - 107) ได้สรุปแนวคิดและแนวปฏิบัติของทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ตั้งแต่แนวคิดเกี่ยวกับการกระทำหรือพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งมี 3 แนวคิด 
  • แนวที่ 1 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตนเอง 
  • แนวที่ 2 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ เกิดขึ้นจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม           มิใช่มาจากแรงกระตุ้นภายใน 
  • แนวที่ 3 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ เกิดขึ้นทั้งจากสิ่งแวดล้อมและจากแรงกระตุ้นภายในตัวบุคคล 



อ้างอิง  http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม 


พื้นฐานทางปรัชญาการศึกษา

           หมายถึง อุดมการณ์ ที่สามารถยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษา เป็นแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของการศึกษา  โดยอาศัยหลักปรัชญาเป็นพื้นฐานปรัชญาการศึกษาเป็นการประยุกต์ปรัชญาทั่วไปเข้ากับการศึกษา เป็นตัวกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษา ในการกำหนดเป้าหมาย

สามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน โดยในแต่ละด้านหลักจะกำกับด้วยปรัชญาที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาต่างๆ ดังนี้ได้แก่

ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม
  • เน้นการจัดการเรียนรู้ยึดครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง 
  • เน้นการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียน                                                                                                      
และ ปรัชญานิรันดรนิยม 
  • เน้นการจัดหลักสูตรเป็นแบบรายวิชา เน้นวิชาที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียน
ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม  
  • เน้นถึงความมีอิสระของบุคคลที่จะเลือก กำหนดชีวิตของตนเองได้
  • การจัดการเรียนการสอนครูจะให้อิสรภาพแก่ผู้เรียนให้มากที่สุด การสอนมีความยืดหยุ่น ผู้เรียนจะสร้างระเบียบวินัยขึ้นมาปกครองตนเอง 
ด้านสังคม กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม 
  • เชื่อว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนแปลงสังคม สามารถปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น
  • เป็นหลักสูตรที่เน้นชีวิตและสังคม


พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา

                  ในการจัดทำหลักสูตรนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงอยู่เสมอว่า
ต้องพยายามจัดหลักสูตรให้สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ด้วยการศึกษาข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกบตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทั้งสิ้น 
          ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาจึงเป็นส่วนสำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะละเลยมิได้ในการนำมาวางรากฐานหลักสูตร เช่น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร การกำหนดเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสม ที่สุดนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของจิตวิทยา โดยเฉพาะ จิตวิทยาพัฒนาการ  (developmental psychology) และจิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology of learning) ซึ่งจิตวิทยาทั้ง 2 สาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรโดยตรง 


พื้นฐานทางด้านสังคม

  • การศึกษาเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึ่งปรารถนา การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนได้อยู่เสมอ จึงจะสามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สังคมกับการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทำหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำความรู้ความสามารถไปพัฒนาสังคม
  • ในการพัฒนาหลักสูตรจึงต้องเริ่มจากข้อมูลต่าง ๆ ของสังคม แล้วจึงกำหนดปัญหาหรือสิ่งที่สังคมต้องการ จนกลายมาเป็นจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระและกิจกรรมต่าง ๆ บรรจุลงในหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณค่าต่อผู้เรียนและต่อสังคมอย่างแท้จริง
  •  ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาว่าใช้หลักฐานกับคนในสังคมใดก็ต้องคำนึงถึงลักษณะของคนในสังคมนั้นว่าจะให้มีลักษณะแบบใด ลักษณะใดที่ต้องการให้เกิดขึ้นและลักษณะใดไม่พึงประสงค์ แล้วกำหนดใช้ในหลักสูตรและแนวดำเนินการของหลักสูตร


อ้างอิง http://www.kruchiangrai.net/tag/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3/

http://www.learners.in.th/blogs/posts/411499