วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม 


พื้นฐานทางปรัชญาการศึกษา

           หมายถึง อุดมการณ์ ที่สามารถยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษา เป็นแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของการศึกษา  โดยอาศัยหลักปรัชญาเป็นพื้นฐานปรัชญาการศึกษาเป็นการประยุกต์ปรัชญาทั่วไปเข้ากับการศึกษา เป็นตัวกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษา ในการกำหนดเป้าหมาย

สามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน โดยในแต่ละด้านหลักจะกำกับด้วยปรัชญาที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาต่างๆ ดังนี้ได้แก่

ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม
  • เน้นการจัดการเรียนรู้ยึดครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง 
  • เน้นการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียน                                                                                                      
และ ปรัชญานิรันดรนิยม 
  • เน้นการจัดหลักสูตรเป็นแบบรายวิชา เน้นวิชาที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียน
ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม  
  • เน้นถึงความมีอิสระของบุคคลที่จะเลือก กำหนดชีวิตของตนเองได้
  • การจัดการเรียนการสอนครูจะให้อิสรภาพแก่ผู้เรียนให้มากที่สุด การสอนมีความยืดหยุ่น ผู้เรียนจะสร้างระเบียบวินัยขึ้นมาปกครองตนเอง 
ด้านสังคม กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม 
  • เชื่อว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนแปลงสังคม สามารถปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น
  • เป็นหลักสูตรที่เน้นชีวิตและสังคม


พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา

                  ในการจัดทำหลักสูตรนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงอยู่เสมอว่า
ต้องพยายามจัดหลักสูตรให้สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ด้วยการศึกษาข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกบตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทั้งสิ้น 
          ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาจึงเป็นส่วนสำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะละเลยมิได้ในการนำมาวางรากฐานหลักสูตร เช่น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร การกำหนดเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสม ที่สุดนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของจิตวิทยา โดยเฉพาะ จิตวิทยาพัฒนาการ  (developmental psychology) และจิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology of learning) ซึ่งจิตวิทยาทั้ง 2 สาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรโดยตรง 


พื้นฐานทางด้านสังคม

  • การศึกษาเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึ่งปรารถนา การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนได้อยู่เสมอ จึงจะสามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สังคมกับการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทำหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำความรู้ความสามารถไปพัฒนาสังคม
  • ในการพัฒนาหลักสูตรจึงต้องเริ่มจากข้อมูลต่าง ๆ ของสังคม แล้วจึงกำหนดปัญหาหรือสิ่งที่สังคมต้องการ จนกลายมาเป็นจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระและกิจกรรมต่าง ๆ บรรจุลงในหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณค่าต่อผู้เรียนและต่อสังคมอย่างแท้จริง
  •  ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาว่าใช้หลักฐานกับคนในสังคมใดก็ต้องคำนึงถึงลักษณะของคนในสังคมนั้นว่าจะให้มีลักษณะแบบใด ลักษณะใดที่ต้องการให้เกิดขึ้นและลักษณะใดไม่พึงประสงค์ แล้วกำหนดใช้ในหลักสูตรและแนวดำเนินการของหลักสูตร


อ้างอิง http://www.kruchiangrai.net/tag/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3/

http://www.learners.in.th/blogs/posts/411499

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น